ที่มาของโครงการ

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของประเทศไทย โดยมีผลผลิตต่อปีสูงถึง 31 ล้านตัน (พ.ศ. 2564) นับเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ในขณะที่ปริมาณการส่งออกมันสำปะหลังของไทยนับเป็นอันดับหนึ่งของโลก ประมาณ 7 ล้านตัน (พ.ศ.2564) โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังสูงที่สุดในประเทศ คือประมาณ 5.88 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2565 คิดเป็น 54.1% ของทั้งประเทศไทย สำหรับจังหวัดเลยการเกษตรกรรมเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากของจังหวัดเพราะมีมูลค่าสูงถึง 28.1% ของผลผลิตมวลรวมของจังหวัดจำนวน 56,584 ล้านบาท (พ.ศ. 2564) (สำนักงานสถิติจังหวัดเลย, 2566) ในบรรดาผลิตผลทางการเกษตรพืชไร่เศรษฐกิจมีมูลค่ารวมสูงถึง 6,417.29 ล้านบาท พืชไร่ที่นิยมปลูกในจังหวัดเลย ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ตามลำดับ ในปีเพาะปลูก พ.ศ. 2565 เกษตรกรชาวจังหวัดเลยปลูกมันสำปะหลัง 309,165 ไร่ จึงถือได้ว่ามันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอันดับต้นของจังหวัด รายได้หลักของเกษตรกรผู้ปลูกมันคือ การนำหัวมันไปขายให้กับโรงงานหรือลานมันที่อยู่ใกล้พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร แต่ประสิทธิภาพด้านผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ยังอยู่ในระดับต่ำ คือประมาณ 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ จากการที่คณะผู้วิจัยได้ดำเนินงานวิจัยเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและการยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดเลยโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 2566 ซึ่งมีเทคโนโลยี 2 กลุ่ม คือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังและการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ในแปลง โดยแนวทางในการการเพิ่มผลผลิตในแปลงมันสำปะหลังเน้นการใช้เทคโนโลยีระบบน้ำหยดและการใช้สูตรปุ๋ยที่เหมาะสม โดยเรียกว่าการจัดการดิน น้ำ ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้จาก 3,501 กก.ต่อไร่ เป็น 7,030 กก.ต่อไร่ จึงเป็นแนวทางที่ใช้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังในงานวิจัยนี้
ปัจจุบันเกษตรกรในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงมีอยู่เป็นจำนวนมากที่ปลูกมันสำปะหลังด้วยวิธีการแบบดั้งเดิมที่ตนเองคุ้นเคย โดยผลผลิตเฉลี่ย ของการปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดเลยในปีพ.ศ. 2565 อยู่ที่ 3,224 กิโลกรัมต่อไร่ ถือเป็น pain point หลักของการผลิตมันสำปะหลังในประเทศ แต่การลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ก็ยังเป็นสิ่งที่เกษตรกรยังไม่แน่ใจ ความท้าทายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่เกษตรกรคือการสร้างการยอมรับเทคโนโลยี (technology adoption) ที่เกิดจากแรงจูงใจที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม หลักการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่เกษตรกรยอมรับและนำไปใช้ ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ต้องลงทุนมากเกินไป เหมาะสมกับบริบทในท้องถิ่น เป็นเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการประยุกต์ใช้ในสภาวะปัจจุบัน และมีโอกาสสูงในการแก้ปัญหาได้จริง และแรงจูงใจที่สำคัญคือความคุ้มค่าในการลงทุนของเทคโนโลยี จากการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนในเทคโนโลยีต้นแบบจากงานวิจัยข้างต้น พบว่าการลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมนี้โดยคิดอายุการใช้งานของเทคโนโลยีต้นแบบ 5 ปี ถ้าใช้กับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 5 ไร่ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิของการนำเทคโนโลยีเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตเท่ากับ 361,254 บาท สูงกว่ากรณีที่ไม่ใช้เทคโนโลยีถึง 2.37 เท่า จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าโดยเฉพาะในสภาวะมันสำปะหลังภาพรวมมีราคาสูงในปัจจุบัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Post

ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน คือการกำหนดปริมาณที่แนะนำให้ใช้ของแม่ปุ๋ย 3 อย่าง คือ N P K จากค่าวิเคราะห์ดิน 3 ค่า ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ประโยชน์จากการใช้ค่าวิกฤติ คือ 1) เป็นข้อมูลการตัดสินใจของเกษตรกรว่า จะใส่ปุ๋ยเคมี N P K หรือไม่ เพราะมันสำปะหลังจะมีการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดีและเด่นชัด เมื่อมีค่าวิเคราะห์ดินก่อนปลูกต่ำกว่าค่าวิกฤต หากดินมีค่าวิเคราะห์สูงกว่านี้ การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยจะมีน้อยมากหรือไม่ตอบสนองเลย 2) นำค่าต้นทุน